Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home แพทย์ และ ทีมแพทย์
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยเทคนิคการใช้สายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (ทาวี่)

ทาวี่ (TAVI, Transcatheter Aortic Valve Implantation) คืออะไร

ทาวี่หรือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยเทคนิคการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัดคือ คือการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบรุนแรงของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายที่เรียกลิ้นหัวใจเอออติกส์ (aortic valve )ซึ่งการตีบโดยส่วนมาก จะเกิดจากความเสื่อมของลิ้น (sclerodegenerative) และส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติ  หรือพิการของลิ้น มาแต่กำเนิด  โดยการรักษาทำได้โดย ใส่ลิ้นเทียมผ่านหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ เช่นหลอดเลือดแดงที่ ขา    และแขน หรือเจาะผ่านผิวหนังบริเวณยอดหัวใจ(apex)โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทรวงอก ซึ่งจะทำใน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัดเท่านั้น เนื่องด้วยในผู้ป่วยที่มีการตีบของลิ้นหัวใจเอออติกส์ที่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการผ่าตัดน้อย หรือ ปานกลาง ยังถือว่าวิธีการผ่าตัดทางทรวงอกเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา

ผู้ป่วยกลุ่มใดเหมาะที่ใช้วิธีการรักษานี้

1.ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะโรคลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบรุนแรง  โดยทางการแพทย์จะมีวิธีประเมินความรุนแรง  ของอาการจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเพิ่มเติ่ม  ซึ่งโดยมากผู้ป่วย จะต้องมีอาการรุนแรงจึงเหมาะในการทำ TAVI

2.ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด  ซึ่งจะมีมาตรฐานในการประเมินปััจจัยเสี่ยงดังกล่าวจากแพทย์ผู้ดูแล

3.ผู้ป่วยและญาตให้ความยินยอมในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวหลังได้รับข้อมูล  รวมถึงผลของการรักษา ผลแทรกช้อน  จากการรักษาด้วย TAVI

4.เป็นผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวเกิน  1 ปี หรือ ไม่ได้อยู่ในภาวะของโรคมะเร็งระยะลุกลาม

ผลของการรักษาในปัจจุบันเป็นเช่นไร

เนื่องด้วยเป็นวิธีการรักษาใหม่ และยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ข้อมูลอ้างอิงจากการรักษา ยังมาจากต่างประเทศเป็นส่วนมาก ดังนั้นข้อมูลบางอย่างยังต้องรอผลการรักษาในประเทศไทย แต่จากหลักฐานจากงานวิจัยหลายชิ้นในต่าประเทศให้ข้อมูลที่ตรงกันถึง ประโยชน์ของการรักษาด้วย TAVI ว่า ลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราการเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำ ลดอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นเอออติกส์ โดยทีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหลังการทำ TAVI ไม่ได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการรักษามาตรฐาน ทั้งนี้้ทั้งนั้นเกิดจากการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 1 ปี

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

จากรายงานการศึกษาพบว่า  มีภาวะความเสียหายของหลอดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยขนาดของลิ้นเทียม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการใส่มีขนาดใหญ่ ในบางการศึกษา พบภาวะเลือดออกมากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13674247