การสวนหัวใจและหลอดเลือด การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และการ ปิดรูรั่วหัวใจด้วยสายสวน |
![]() |
![]() |
![]() |
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 13:47 น. |
การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคทางหัวใจ โดยการใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปในห้องหัวใจผ่านรูเข็มขนาดเล็กซึ่งแทงในหลอดเลือดแดงหรือดำบริเวณขาหนีบ หรือ ที่ข้อมือ (หลังจากยาชาออกฤทธิ์เต็มที่) ย้อนขึ้นไปที่หัวใจ เพื่อตรวจลักษณะของหลอดเลือดโดยฉีดสารทีบรังสี หรือ ใส่สายสวนเพื่อวัดความดันหรือตรวจระดับออกซิเจนในห้องหัวใจ หลักการโดยทั่วไปคือหลอดเลือดบริเวณขาหนีบและข้อมือดังกล่าวนั้นเชื่อมกับหลอดเลือดแดงใหญ่และห้องหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Coronary Intervention) หากผลการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถให้การรักษาด้วยการใช้ลูกโป่งถ่างขยายหลอดลเลือดหัวใจตีบได้ในครั้งเดียวกัน การตรวจสวนหัวใจนี้ เป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด สามารถรักษาได้ขณะหัวใจเต้น ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% ใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็สามารถกลับสู่ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
นอกจากนี้เทคนิกการสวนหัวใจสามารถนำมารักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือรูรั่วของหัวใจได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อาทิเช่น
ห้องปฏิบัติการการสวนหัวใจและหลอดเลือด ของศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งอยู่ ณ ตึก ภูมิสิริ ชั้น 4 7.30-16.30 วันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
สำหรับแพทย์ที่ต้องการติดต่อส่งต่อผู้ป่วย ติดต่อแพทย์ประจำหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (ซีซียู) 02-2564570 (เบอร์ตรง, fax) ขั้นตอนการนัดหมายวันสวนหัวใจ
ในผู้ป่วยฉุกเฉินที่เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) สามารถรับการตรวจและวินิจฉัยได้ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตลอด 24 ชั่วโมง |