Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home แพทย์ และ ทีมแพทย์
กายภาพบำบัดและฟื้นฟูหัวใจ


กายภาพบำบัดหัวใจ เป็นบริการสำหรับผู้ป่วยหัวใจทำกิจกรรมภายใต้การติดตามอาการ สัญญาณชีพที่สำคัญ กราฟหัวใจ และ ระดับร้อยละของออกซิเจนในเลือด โดยมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญ  เพื่อช่วยผู้ป่วยให้มีการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมจากโรคหัวใจประเภคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ภาวะหลังจากการผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทาทในการลดการนอนโรงพยาบาลซ้ำของผู้ป่วย ลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจต่างๆ ชี้ให้ผู้ป่วยทราบและตระหนักถึงปัจจัยเสียงต่อโรคหัวใจ ได้แก่ ความดัน ไขมัน น้ำตาล การลดน้ำหนักที่มากกว่าปกติ การหยุดบุหรี่ และกิจวัตรและกิจกรรมประจำวัน นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ

การฟื้นฟูหัวใจ คือกระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหัวใจหรือการผ่าตัดหัวใจ เพื่อลดผลเสียจากการขาดการเคลื่อนไหว และเพิ่มสมรรถภาพการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้มากขึ้นโดยไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว

การฟื้นฟูหัวใจแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 การฟื้นฟูหัวใจในโรงพยาบาล

จุดประสงค์

  • ป้องกันและลดผลกระทบจากการขาดการเคลื่อนไหว
  • เพื่อให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพในการทำกิจกรรมดีขึ้น จนทำกิจวัตรประจำวันได้
  • ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและการออกกำลังกายที่บ้าน

องค์ประกอบของการฟื้นฟู

  • การประเมินผู้ป่วย
  • การฝึกออกกำลัง
  • การบริการคงพิสัยข้อ (Range of Motion Exercise: ROME)
  • การบริหารแบบมีแรงต้าน (Resistance Exercise)
  • ต้านน้ำหนักตัวเอง (Calisthenic exercise)
  • การบริหารแบบแอโรบิก (Aerobic exercise)
  • เดิน, จักรยาน
  • การช่วยเหลือตนเอง (ADL training)
  • Chest Program
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตนเอง ปัจจัยเสี่ยงและการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
  • การเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน (Discharge planning)

 

ตัวอย่างโปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจในโรงพยาบาล

Bed rest จนกว่า Clinical stable

ระดับ 1

1-2 METs

เช้า: Chest Program, Calisthenic บนเตียง, นั่งบนเตียง

บ่าย: Calisthenic บนเตียง, นั่งบนเตียง

นั่งเก้าอี้ข้างเตียง 10-15 นาที

นั่งถ่ายข้างเตียง

ระดับ 2

2-3 METs

เช้า: นั่งข้างเตียง, Calisthenic(นั่ง), เดินรอบเตียง 3-5 นาที

บ่าย: เดินรอบเตียง 3-5 นาที

Self care

ระดับ 3

2-3 METs

เช้า: Calisthenic (ยืน),เดินทางราบ 5 นาที

บ่าย: เดินทางราบ 10 นาที

ให้ความรู้เรื่องโรคและปัจจัยเสี่ยง

ระดับ 4

3-4 METs

เช้า: Calisthenic (ยืน), เดิน 10-15 นาที

บ่าย: เดิน 10-15 นาที, ลงบันไดพักขา 1 ชั้น

นั่งอาบน้ำฝักบัว

สอนดูแลแผล

ระดับ 5

4-5 METs

เช้า: Calisthenic (ยืน), เดิน 10-15 นาที

ลงบันไดสลับขา, ขึ้นบันไดพักขา

บ่าย: ขึ้นบันไดสลับขา 1 – 2 ชั้น, เดินลู่วิ่ง, จักรยาน

เตรียมตัวผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

 

ระยะที่ 2 การฟื้นฟูหัวใจแบบผู้ป่วยนอก

หลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถกลับไปออกกำลังเองที่บ้านได้ โดยมาพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามและปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามนัด ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้มาออกกำลังในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์เป็นระยะเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ โดยอาจมีการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด ระดับความเหนื่อย ระหว่างการออกกำลัง ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

ระยะที่ 3 การฟื้นฟูหัวใจต่อเนื่อง

หลังจากผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูแล้ว ควรมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงสภาพร่างกายที่ดีต่อไป

 

คลินิกฟื้นฟูหัวใจ-ปอด

ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอด ด้วยการให้โปรแกรมออกกำลังกายภายใต้การดูแลของทีมงานแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด โดยมีการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด ระหว่างการออกกำลัง ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

รายละเอียดเพิ่มเติม http://rehab.md.chula.ac.th/04_Service.html


 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13674182