Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home บริการและความชำนาญพิเศษ Heart Failure and Transplant Cardiology Program การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 13:01 น.

โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ เป็นโรคหนึ่งซึ่งพบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นเด็กแรกเกิด วัยรุ่น วัยกลางคน หรือในผู้สูงอายุ โดยปกติหัวใจจะมีลิ้นหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่คอยปิดและเปิดให้เลือดผ่านเข้าออกในแต่ละช่องหัวใจทั้งหมดจำนวน 4 ลิ้น ได้แก่ Aortic Valve ,Mitral Valve, Tricuspid Valve และ Pulmonic Valve ลิ้นทั้งสี่นี้จะทำงานประสานกันเพื่อให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดการตีบ (Stenosis) หรือรั่ว (Regurgitation) จะทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติด้วย โดยไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ นอกจากนั้นยังอาจทำให้มีเลือดคั่งในปอด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากขึ้น จะนอนราบศีรษะต่ำไม่ได้ เนื่องจากอาการแน่น และเหนื่อยหายใจลำบาก

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นหนทางสุดท้ายในการรักษาโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ ในกรณีพยาธิสภาพของ

ลิ้นหัวใจสูญเสียหรือเสื่อมสภาพไปมากแล้ว เช่น ฉีกขาดมาก หรือมีหินปูนเกาะ ทำให้ศัลยแพทย์ไม่

สามารถผ่าตัดโดยการซ่อมแซมลิ้นหัวใจเดิมของผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดเอาลิ้นหัวใจเก่าออกไป

และใส่ลิ้นหัวใจอันใหม่แก่ผู้ป่วยแทน

 

ลิ้นหัวใจเทียมในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรกคือ ลิ้นหัวใจเทียมจากวัสดุ

สังเคราะห์ประเภทโลหะ  พลาสติก หรือคาร์บอน โดยมีรูปร่างที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบ เช่น

แบบบานพับ หรือแบบลูกบอลในกรง และประเภทที่ 2  คือ ลิ้นหัวใจเทียมจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมักทำจาก

ลิ้นหัวใจหมู หรือใช้ลิ้นหัวใจจากคนที่เสียชีวิตแล้ว

 

ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความชำนาญในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และ ผลการผ่าตัดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้หากไม่มีผลแทรกซ้อน รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถปรึกษาและถามศัลยแพทย์ได้

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13673394