Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจและการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร
การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้สายสวนและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ และการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 13:40 น.

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้สายสวนและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ

ผู้ป่วยซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเต้นผิดจังหวะบางประเภท สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการจี้วงจรไฟฟ้าหัวใจ ทำให้กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนคุณสมบัติและหยุดการเต้นผิดจังหวะได้ การรักษาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการสวนสายสวนไปยังหลอดเลือดดำที่ขาเพื่อเข้าไปยังหัวใจห้องขวาและหาตำแหน่งผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้า และ จึ้ด้วยไฟฟ้าในตำแหน่งที่ผิดปกติ การรักษาดังกล่าวไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในวันรุ่งขึ้นหากไม่มีผลแทรกซ้อน

 

 

 

ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร 

ผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นช้าและมีอาการจากหัวใจเต้นช้า ควรได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร หรือเครื่อง pacemaker ซึ่งทำในห้องปฏิบัติการการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ตึกสก ชั้น 4 โดย แพทย์จะทำการใส่เครื่องซึ่งมีขนาดประมาณ เหรียญ 5 บาทจำนวนสองเหรียญ ฝังไว้บริเวณผนังหน้าอก (ส่วนมากมักเป็นด้านซ้าย) เครื่องดังกล่าวมีสายต่อถึงห้องหัวใจขวา ซึ่งเครื่องจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของหัวใจห้องขวานี้ หัตถการดังกล่าวสามารถทำได้โดยฉีดยาชาเท่านั้น ไม่ต้องใช้ยาสลบ

ข้อควรปฏิบัติหลังใส่เครือ่ง Pacemaker กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaidoctor.org/download_count.php?id=77

 

 

ห้องปฏิบัติการการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ของศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งอยู่ ณ ตึก ภูมิสิริ ชั้น 4 เวลาให้บริการ 7.30-16.30 วันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์


 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13673011