Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
การตรวจคลืนเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหน้าอก PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 14:36 น.

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจคืออะไร

คำตอบ ดูวิดิโอนี้  https://www.youtube.com/watch?v=-A8_nLFhYEo&feature=youtu.be

เป็นการตรวจโดยใช้อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกว่าอัลตร้าซาวด์ ส่งผ่านผนังหน้าอกไปสู่หัวใจ แล้วตัวสะท้อนคลื่นเสียงความถี่สูงนั้นกลับมาสู่เครื่องตรวจและประมวลผลออกมาเป็นภาพทางกายภาพและการทำงานของหัวใจ ณ เวลาที่ทำการตรวจนั้นๆ

ขั้นตอนการตรวจ ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนเสื้อของโรงพยาบาล สำหรับผู้หญิงต้องถอดเสื้อชั้นในก่อน จากนั้นจะมีการติดแผ่นนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผนังหน้าอก หรือตัวหนีบที่แขนและขา 2 ข้าง เพื่อนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยนอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง ยกแขนซ้ายสูงวางพาดไว้ที่หมอน แจ้งแพทย์ทราบถ้ามี อาการผิดปกติขณะได้รับการตรวจ (ไม่ต้องงดอาหารก่อนมาตรวจ)

 

ผู้ป่วยรายใดควรได้รับตรวจ/หัตถการ/รักษา ด้วยวิธีนี้: เมื่อสงสัยว่ามีภาวะการทำงานของหัวใจผิดปกติ

ข้อห้ามและข้อระวัง: ไม่มี

ข้อปฏิบัติตัวหลังจากที่ทำหัตถการ : ปฏิบัติตัวได้ตามปกติ

การให้บริการของโรงพยาบาลจุฬาฯ:

วันและเวลาทำการ

  • ในเวลาราชการ    จันทร์-ศุกร์             08.00-12.00      ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • นอกเวลาราชการ  จันทร์-ศุกร์             16.00-20.00      ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

เสาร์-อาทิตย์           08.00-12.00    ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

สถานที่

  • ผู้ป่วยนอก                                        ตึกภปร. ชั้น 13
  • ผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนัด                         ตึกภูมิสิริฯ ชั้น 4 

โทรศัพท์ 02-2564695

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13673382