Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home เกล็ดความรู้โดยสังเขปของการตรวจทางหัวใจ
เกล็ดความรู้โดยสังเขปของการตรวจทางหัวใจ PDF พิมพ์ อีเมล
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 15:32 น.
  • Echocardiogram หรือ คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัว ตรวจชนิดพิเศษ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูง ผ่านอวัยวะต่างๆจะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งแตกต่างกันระหว่างน้ำ เนื่อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพ ดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือหัวใจของผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้ แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษา ในโรคหัวใจและ หลอดเลือดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะไม่เห็นหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เป็นเพียงการตรวจทางอ้อม กล่าวคือ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจนั้นสามารถเห็นการขยับและเคลื่อนไหวของผนัง หัวใจได้ทุกส่วน หากผนังหัวใจขยับได้น้อยกว่าปกติจะบ่งว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นต้น และ อาจได้ภาพ ไม่ชัดเจนในผู้ป่วยที่อ้วนหรือผอมมาก หรือ มีถุงลมโป่งพอง เนื่องจากไขมันและอากาศขัดขวางคลื่นเสียงความถี่สูง

 

  • Exercise Stress Test การเดินสายพาน

หลัก การ คือ ให้ผู้ป่วย(หรือผู้ที่ต้องการตรวจ)ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อน ที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ยังช่วย บอกแพทย์ด้วยว่าผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และ ใช้ในการติดตามผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด โดยการให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้วและสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer ในขณะที่ เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าภายในหัวใจพร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลา ในขณะ ทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชัน ของเครื่องเป็นระยะๆตามโปรแกรมที่จะเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบ โดยเฉพาะเป็นรายๆไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่ ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที

 

  • Tilt Table Test

เป็น การตรวจพิเศษที่ใช้ทดสอบในกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หรือ หัวใจก็ได้

คำ จำกัดความของ " อาการเป็นลม , หมดสติ "คือ การไม่รู้สติสัมปชัญญะอย่างเฉียบพลัน ( โดยทั่วไปมักน้อยกว่า 1 นาที ) อันเป็นผลมาจากสมองเกิดภาวะขาดออกซิเจน โดยไม่มีความผิดปกติทาง ระบบประสาทเฉพาะที่ เช่น โรคลมชัก เป็นต้น แม้ว่าภาวะการเป็นลม จะไม่ค่อยก่อให้เกิดอันตราย ถึงแก่ชีวิต แต่การเกิดซ้ำๆ ก็ก่อให้เกิดความกังวลใจและ อาจทำให้เกิดบาดแผลต่อร่างกาย หรือเกิดอาการผิดปกติทางสมองได้ การทดสอบชนิดนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมบ่อยๆ หรือเป็นลมง่าย เช่น เห็นเลือดแล้วเป็นลม เปลี่ยนท่าแล้วเป็นลม หรือ เสียใจ ดีใจมาก ก็เป็นลมการทดสอบชนิดนี้ทำได้ง่าย ไม่ต้องนอนพักต่อในโรงพยาบาล การทดสอบจะกระทำในห้องที่มีเตียงพิเศษ สามารถปรับระดับองศา ของเตียงได้ ผลการทดสอบ แพทย์จะวิเคราะห์จาก อัตราชีพจร ความดันโลหิต ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ อาการของผู้ป่วย ขณะที่ถูกเปลี่ยนระดับเตียง จากนอนราบเป็นประมาณ 70-80 องศา เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที บางครั้งอาจ จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย

 

  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24-48 ช.ม.

เป็น การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่าน โดยที่ท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงาน ได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 หรือ 48 ชั่วโมงแล้ว ท่านจึงกลับมา ถอดเครื่อง และรอรับทราบผล การตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ได้ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้ง คราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ แต่บางครั้งขณะ มาพบแพทย์อาการดังกล่าวก็ไม่ปรากฎ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ เวลาที่ไม่มีอาการ ( ECG ) ก็ปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าอาการใจสั่นเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่

ข้อห้ามบางประการขณะติดเครื่องบันทึก
1.ห้ามอาบน้ำว่ายน้ำหรือทำให้เครื่องและบริเวณที่ติดสายและขั้วต่อเปียก
2.ห้ามทำเครื่องตก(เครื่องจะใส่กระเปําและเข็มขัดไว้ให้ท่านอย่างเรียบร้อย)
3.ห้ามออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของแขนมาก

 

  • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

การ ตรวจสวนหัวใจหรือการฉีดสี หมายถึงการใช้สายสวนขนาดเล็ก ( โดยทั่วไป เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ) ใส่เข้าไปตาม หลอดเลือดแดง อาจจะใส่จากบริเวณขาหนีบ ( ซึ่งนิยมมากที่สุด ) ข้อพับแขนหรือข้อมือ ไปจนถึง จุดที่เป็นรูเปิดของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ( หรือที่รู้จักกันว่าหลอด เลือดโคโร นารี่ ) ทั้งซ้ายและขวา ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวมักจะอยู่ก่อนถึงหัวใจเล็กน้อย จากนั้น แพทย์จะใช้สารละลายทึบรังสีเอ็กซเรย์ ( หรือ "สี" ) ฉีดเข้า ทางสายสวนนั้นไปที่หลอดเลือดโคโรนารี่ เพื่อตรวจสอบดูว่า มีการตีบแคบ หรือตันของหลอดเลือดอันสำคัญนั้นหรือไม่ ถ้ามีการตีบแคบหรือตัน การฉีดสี ก็จะสามารถให้รายละเอียดได้ชัดเจนอีกว่า เป็น ณ บริเวณใดของหลอดเลือด เป็นมากหรือน้อยประการใด ทั้งนี้นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ อย่างแม่นยำ แล้ว ยังช่วย ในการตัดสินใจของผู้ป่วยญาติ และแพทย์ อีกด้วยว่าควรจะแก้ไขหรือรักษาด้วยวิธีใด ให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิผล แก่ผู้ป่วยอย่างสูงสุดปัจจุบันการตรวจสวนหัวใจทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ใช้เวลาพักอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 1 วัน และขณะทำก็ไม่มี การใช้ยาสลบ แต่อย่างใด จะใช้ยาชา เฉพาะที่เท่านั้น ขณะตรวจผู้ป่วยจะสามารถมองผ่านทางจอภาพได้ตลอดเวลา และเมื่อการตรวจเสร็จ เรียบร้อย ท่านก็จะทราบผลการตรวจได้ทันที

ผลแทรกซ้อนจากการตรวจ
มีผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการสวนหัวใจและฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจอยู่บ้าง ผลแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง (พบได้น้อยกว่าร้อยละ 5) เช่น ผลต่อหลอดเลือดที่ขา(ตำแหน่งที่แทงเข็ม) เลือดออก แพ้"สี"แบบไม่รุนแรง เป็นต้น หรือ ผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น อัมพาต แพ้"สี"รุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง เสียชีวิต อย่างไรก็ตามผลแทรกซ้อนที่รุนแรงเหล่านี้พบน้อยมาก น้อยกว่าร้อยละ 1 ทำให้เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี กับ ข้อเสียแล้ว ผู้ป่วยจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากการสวนหัวใจและฉีดสีดูหลอดเลือด

 

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)

 

ก่อน หน้านี้การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบหรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ ซึ่งโดยทั่วไปพบว่ามักจะเกิดจาก การอุดตัน ของไขมันนั้น มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่ค่อนข้างได้ผล นั่นคือ การผ่าตัดหัวใจ หรือการตัดต่อทำทางเดินของ หลอดเลือดใหม่ หรือ ที่เรามักจะได้ยินว่า การทำ CABG หรือการทำ "Bypass" นั่นเอง แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ค้นพบวิธีการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาแก้ไขภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างได้ผล และ ช่วยชะลอ หรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีผ่าตัดอีกต่อไป วิธีนี้เรียกว่าการทำ PTCA หรือ " การขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ด้วยสายสวนพิเศษชนิดบอลลูน " แพทย์จะพยายามใส่สายสวนนี้เข้าไป ให้ถึงบริเวณหลอดเลือดที่ตีบแคบ (โดยมีลวดนำ )จากนั้นจะใส่ลมเข้าไปให้ ลูกโป่งนั้นพองออก ตรงตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบแคบพอดี แรงกด ของลูกโป่งจะดัน ผนังของหลอดเลือดที่ตีบแคบ ให้ขยายออก ทำให้เลือดที่มี ออกซิเจนไหลผ่าน หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น อาการเจ็บจุก หรือแน่น หน้าอกก็จะหายไป การรักษาด้วยวิธีนี้จะกระทำภายในห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจที่มีเครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษโดยเฉพาะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ความสำเร็จในการขยายหลอดเลือดมากกว่าร้อยละ 90 หลังการรักษาท่าน จะได้รับคำแนะนำให้พักในโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 วัน เท่านั้น ก็จะสามารถกลับบ้านได้ การขยายหลอดเลือด ด้วยบอลลูนนี้มีเสี่ยง(ต่อการเสียชีวิต)บ้าง แต่อย่างไรก็ตามอัตราเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 2 (น้อยกว่าการที่ไม่รักษา) ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย (ประมาณร้อยละ 5) คือ เลือดออก หรือ อันตรายต่อหลอดเลือดที่ขา (ตำแหน่งที่แทงเข็ม) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ หากท่านได้รับคำแนะนำจากแพทย์ถึงการรักษาชนิดนี้ ท่านจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ของท่านและการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยมารับข้อมูล จากพยาบาลที่หอผู้ป่วยไอซีซียูโดยละเอียด เช่น ท่านต้อง งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ เป็นต้น

สิ่ง ที่ท่านควรทราบอีกประการหนึ่ง คือ การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะด้วยยา การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด ไม่ได้ช่วยให้ท่าน "หายขาด" จากโรค เพียงแต่ช่วยลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในบางรายช่วยลดอัตราตายในระยะยาวลง การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนนี้ มีโอกาสที่หลอดเลือดบริเวณที่ขยายไว้ จะตีบประมาณร้อยละ 30-40 ใน 6 เดือน พบว่าการขยายหลอดเลือดร่วมกับการใส่ "ขดลวด" หรือ Stent จะช่วยลด การกลับมาตีบซ้ำลงได้เหลือประมาณร้อยละ 15-20 และหากเป็น "ขดลวดเคลือบยา" การตีบซ้ำยิ่งพบน้อยลง แต่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านเกร็ดเลือดไปนาน

ขั้นตอนการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)มีอะไรบ้าง

-ท่านจะ ได้รับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าหากนัดโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจ ท่านจะได้รับเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวและขั้นตอนการตรวจก่อนทำหัตถการสวน หัวใจเพราะบางรายจำเป็นต้องหยุดยาที่อาจเป็นอันตรายหากทำหัตถการท่านจะได้ รับความรู้จากพยาบาลจากหอผู้ป่วยไอ ซี ซี ยูเกี่ยวกับการทำหัตถการ ก่อนเซ็นใบอนุญาตในการทำหัตถการ โดยการดู VDO รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนก่อนและหลังทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ ในวันที่ท่านมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ

-ท่านจะ ได้รับการเตรียมด้านร่างกายโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง, รอบเอว, รอบสะโพก การซักประวัติการแพ้ยาและอาหารทะเล ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ ฟิลม์เอกเรย์โดยพยาบาลจะประสานให้ข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ในรายที่พบความผิดปกติเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของท่าน ให้ท่านมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการทำหัตถการ

-ท่านจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ในคืนก่อนทำหัตถการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการแพ้สารทึบรังสี

-ท่านจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบ 2 ข้าง หรือบริเวณข้อมือ

ขั้นตอนการส่งทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)

ท่านจะได้รับการปฏิบัติดังนี้

-การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
-การแจ้งให้ทราบว่าจะส่งทำการฉีดสี
-ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพ ก่อนส่ง
-การคลำชีพจรบริเวณข้อมือ/หลังเท้า และทำเครื่องหมายกากบาท
-สอบถามการถอดเครื่องประดับ ฟันปลอม รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าก่อนส่ง
-ตรวจสอบว่าท่านยังงดน้ำและอาหารอยู่
-ให้ปัสสาวะก่อนส่ง
-ได้ยาเตรียมก่อนส่ง
-ท่านถูกส่งไปห้องสวนหัวใจพร้อมทั้งประวัติ, film และหมอนทราย

ขั้นตอนการดูแลหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)

-พยาบาลไปรับท่านที่ห้องสวนหัวใจ จะประเมินสภาพสัญญาณชีพ บาดแผล ชีพจรส่วนปลาย สารละลายที่ท่านได้รับ ตรวจสอบกับ คำสั่งการรักษา

-เคลื่อนย้ายท่านกลับมาตึกพักรักษาพยาบาลพร้อมทั้ง ประวัติ, ฟิลม์เอกเรย์

-ให้นอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำประมาณ 6- 12 ชั่วโมง หรือห้ามงอข้อมือข้างที่ทำอย่างน้อย 4 ชม.

-ตรวจสอบ ชีพจรบริเวณส่วนปลายใต้บริเวณที่ทำ หัตถการทุก 15 นาที x 4 ครั้ง, 30 นาที x 2 ครั้ง และทุก 1 ชม.

-ตรวจสอบบาดแผลบริเวณที่ทำหัตถการว่าเลือดซึมออกหรือไม่

-ตรวจเช็คสัญญาณชีพทุก 15 นาที x 4 ครั้ง, 30 นาที x 2 ครั้ง และทุก 1 ชม.

 

  • การตรวจระบบไฟฟ้าในหัวใจ

หัวใจ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เป็นต้น แต่การที่หัวใจจะบีบตัว ได้ตามปกตินั้น จำเป็นต้องมีระบบการนำไฟฟ้าหัวใจที่ปกติด้วย การที่หัวใจเต้นผิดปกติ เร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ หรือ หยุดเต้น ล้วนแต่เกิดจากความผิดปกติในการนำไฟฟ้าหัวใจทั้งสิ้น บางครั้งการตรวจร่างกายตามปกติ รวมทั้ง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้มากพอ แพทย์โรคหัวใจจะแนะนำ ให้ตรวจวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจโดยละเอียด

วิธี การตรวจ แพทย์จะใส่สายสวนหัวใจขนาดเล็กเข้าไปยังตำแหน่งต่างๆภายในหัวใจ ผ่านทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบหรือที่ใต้ไหปลาร้า โดยอาจใช้สายสวนหลายสาย ร่วมกัน และใช้เครื่องเอกซ์เรย์ในการเลือกตำแหน่งที่ถูกต้อง ที่ปลายของแต่ละสายจะมีความ สามารถในการบันทึกไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ทำให้ทราบ ว่ามีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นในหัวใจหรือไม่ และยังสามารถปล่อย กระแสไฟฟ้าจำนวนน้อยๆไปกระตุ้นให้เกิดการเต้นผิดจังหวะที่เป็นอยู่ มาปรากฏต่อแพทย์ได้ หากพบว่ามีวงจรที่ผิดปกติ หรือ มีทางลัดเกิดขึ้นในหัวใจ แพทย์อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ ทำลายวงจรที่ผิดปกติโดยผ่านทางสายดังกล่าวได้ ซึ่งนับเป็นการตรวจ วิเคราะห์และการรักษาการเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

การ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุ เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแนวใหม่โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง เข้าไปทำลายวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติภายในหัวใจ ซึ่งเชื่อว่า เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้ การรักษาโดยวิธีนี้ใชัหลักการเดียวกันกับการสวนหัวใจ และกำลังเป็นที่นิยม ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธี ที่ได้ผลสูงและปลอดภัย ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว บางรายไม่ต้องรับประทานยารักษาอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะอีกเลยตลอดชีวิต

 

  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร (Permanent Pacemaker)

หัวใจ เราทำงานบีบตัวได้เพราะมีกลุ่มเซลล์ที่สร้างกระแสไฟฟ้าเป็นจังหวะ 60 - 100 ครั้งต่อนาที และกระแสไฟฟ้าจะเดินทางไป ตามเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่กลุ่ม เซลล์เหล่านี้ หรือมีความผิดปกติของการส่งกระแสไฟฟ้า หัวใจ ของเราก็จะเต้นผิดปกติ คือ อาจจะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ โดยเฉพาะ คนที่อายุมากๆ หากมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า เพียง 30 - 40 ครั้งต่อนาทีหรือมีภาวะหัวใจ เต้นๆ หยุดๆ ซึ่งถ้าหยุดนานเกินกว่า 2.5 วินาที จะมีอาการวูบๆ หน้ามืด หรือหมดสติได้ อาการเหล่านี้ จะตรวจพบได้ จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ จากการบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง นับเป็นความก้าวหน้าในวงการแพทย์อย่างยิ่งที่ในปัจจุบันนี้สามารถคิดค้นวิธี การและเครื่องมือสำหรับการรักษาความผิดปกติของ หัวใจชนิดต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงภาวะหัวใจเต้นช้าอย่างผิดปกติด้วย หากเกิดอาการดังกล่าว แพทย์จะแนะนำให้ ท่านได้รับการใส่ เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร หรือ " Permanent Cardiac Pacemaker " ซึ่งปัจจุบันมีหลายชนิด

 

  • Defibrillator หรือ ICD (Implantable Cardioverter Defibrillator

สามารถ ทำงานได้เหมือนกับเครื่อง pacemaker ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มความสามารถที่จะทำให้หัวใจห้องล่างที่เต้นเร็วผิดปกติชนิดร้าย แรง (VentricularTachycardia หรือ Fibrillation) ให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้ด้วยการช็อกหรือกระตุกหัวใจ สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากการที่หัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest)ที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมี Cardiac Arrestซึ่งเครื่อง ICD บางรุ่นก็สามารถกระตุ้นหัวใจทั้ง 2 ข้างได้

 

  • Pacemaker สำหรับผู้ที่มีหัวใจวาย (Congestive Heart Failure) ที่เรียกว่า เครื่อง CRT(Cardiac Resynchronization Therapy)

ใน ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายมาก ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง บีบตัวได้ไม่ดี และมีการนำไฟฟ้าที่ช้ามาก จนทำให้หัวใจทั้ง2ข้างและผนังหัวใจแต่ละส่วนบีบตัวไม่พร้อมกันการผ่าตัดฝัง เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ(Cardiac Resynchronization Therapy (CRT)หรือ Biventricular pacing) ที่กระตุ้นหัวใจห้องล่างทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน แทนที่จะกระตุ้นหัวใจห้องล่างขวาเพียงอย่างเดียวตามปกติ จะทำให้หัวใจส่วนต่างๆทำงานได้อย่างพร้อมเพรียงกันสามารถลดอาการหัวใจวาย,ลด อัตราการตายและช่วยให้หัวใจดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

ลักษณะเครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นเครื่องมือขนาดเล็กๆกว้างยาวประมาณ4-5เซนติเมตรหนาประมาณ1/2เซนติเมตรภายในจะประกอบด้วย
1.ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ
2.ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจเมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย
3. ส่วนแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักให้พลังงานได้ 5 - 10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน

เครื่อง กระตุ้นหัวใจจะมีชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยจะเป็นชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพร่างกาย โรคหัวใจและการเต้นของหัวใจ ที่จะทำให้มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดฝังเครื่อง pacemaker ในบางกรณีการกระตุ้นหัวใจห้องเดียวก็ดีกว่า 2 ห้อง แต่บางครั้งการกระตุ้น 3 ห้องก็ดีกว่า 2 ห้อง ขั้นตอนในการผ่าตัดฝังเครื่องทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่เครื่องและสาย ICD จะมีขนาดใหญ่กว่า และต้องทดลองกระตุ้นVentricular Fibrillation และทดลองช็อก

ขั้นตอนการทำหัตถการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ มีอะไรบ้าง

ขั้นตอนก่อนการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

-ท่าน จะได้รับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าหากนัดโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจ ท่านจะได้รับเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวและขั้นตอนการตรวจก่อนทำหัตถการใส่ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะบางรายจำเป็นต้องหยุดยาที่อาจเป็นอันตรายหากทำหัตถการ

-ท่าน จะได้รับความรู้จากพยาบาลจากหอผู้ป่วยไอ ซี ซี ยูเกี่ยวกับการทำหัตถการ ก่อนเซ็นใบอนุญาตในการทำหัตถการ โดยการดู VDO รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนก่อนและหลังทำหัตถการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ในวันที่ท่านมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ท่าน จะได้รับการเตรียมด้านร่างกายโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง, รอบเอว, รอบสะโพก การซักประวัติการแพ้ยาและอาหารทะเล ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ ฟิลม์เอกเรย์โดยพยาบาลจะประสานให้ข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ในรายที่พบความผิดปกติเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของท่าน ให้ท่านมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการทำหัตถการ
-ท่าน จะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ในคืนก่อนทำหัตถการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น-ท่านจะได้รับการ เตรียมผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าอาจเป็นด้านซ้ายหรือขวา

ขั้นตอนการส่งใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

ท่านจะได้รับการปฏิบัติดังนี้
  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
  • การแจ้งให้ทราบว่าจะส่งใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพ ก่อนส่ง
  • สอบถามการถอดเครื่องประดับ ฟันปลอม รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าก่อนส่ง
  • ตรวจสอบว่าท่านยังงดน้ำและอาหารอยู่
  • ให้ปัสสาวะก่อนส่ง
  • ได้ยาเตรียมก่อนส่ง
ท่านถูกส่งไปห้องสวนหัวใจพร้อมทั้งประวัติ, film และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องกระตุ้นหัวใจ

หลังจากใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้วท่านจะได้รับการ ดูแลดังนี้

คลำชีพจรนับอัตรา 1 นาทีและบันทึกไว้ ก่อนจับควรนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที

* สังเกตลักษณะแผล ถ้าแผลยังไม่แห้ง ห้ามให้แผลโดนน้ำ

* พกบัตรประจำตัวที่มีข้อมูลพื้นฐานของตัวเครื่อง เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล และเบอร์โทรศัพท์แพทย์ที่ให้การรักษา

*แจ้งและแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้งที่ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล การตรวจโดยวิธี MRI มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลง

* เดินทางได้ตามปกติ ควรแจ้งและแสดงบัตรประจำตัวให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจจับโลหะที่สนามบิน เพื่อความสะดวกในการตรวจค้น

* ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้ และไม่ควรอยู่ตามลำพัง

* ระวังการกระแทกบริเวณที่ฝังเครื่อง เลี่ยงการนวดหน้าอก เข็มขัดนิรภัยควรมีฟองน้ำหุ้มรองรับ

* ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีไฟรั่ว ถ้าใช้อุปกรณ์ใดแล้วรู้สึกใจสั่น เวียนศีรษะ ให้รีบปิดสวิตช์ไฟแล้วออกห่างจากอุปกรณ์นั้นทันที

* ควรถือโทรศัพท์ด้านตรงข้ามกับบริเวณที่ใส่เครื่อง ถือห่างประมาณ 6 นิ้ว อาจใช้ small talk แทนและไม่ใส่โทรศัพท์มือถือในกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านที่ใส่เครื่อง

* ปรึกษาแพทย์ : อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หายใจขัด เจ็บหน้าอก หรือสะอึก มีไข้สูง แผลบวมแดง มีหนอง และชีพจรช้าหรือเร็วกว่าที่เครื่องกำหนด 5-10 ครั้ง/นาที

ในกรณีใส่เครื่องชนิด AICD

* ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการใส่ Permanent pacemaker แต่มีเพิ่มเติมคือ

* สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ, EKG ถ้าพบว่าเครื่องปล่อยกระแส(shock) ในขณะที่ EKG Sinus rhythm ให้รีบรายงานแพทย์ ทันที

* ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลมี Ventricular arrhythmia บ่อยๆ ทำให้เปลืองแบตเตอรี่อาจต้องใช้ External defibrillator แทน

* ถ้าต้อง CPR ในขณะที่ AICD ทำการ Shock ผู้ป่วย พยาบาลควรใส่ถุงมือ

* ประคับประคองจิตใจผู้ป่วย เพื่อให้คลายความกลัวและวิตกกังวล

* ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการใส่ Permanent pacemaker แต่มีเพิ่มเติมคือ

* สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ, EKG ถ้าพบว่าเครื่องปล่อยกระแส(shock) ในขณะที่ EKG Sinus rhythm ให้รีบรายงานแพทย์ทันที

* ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลมี Ventricular arrhythmia บ่อยๆ ทำให้เปลืองแบตเตอรี่อาจต้องใช้ External defibrillator แทน

* ถ้าต้อง CPR ในขณะที่ AICD ทำการ Shock ผู้ป่วย พยาบาลควรใส่ถุงมือ

* ประคับประคองจิตใจผู้ป่วย เพื่อให้คลายความกลัวและวิตกกังวล

แพทย์ จะใส่สาย (lead) ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าเล็กๆที่ปลายสายเข้าทางหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่จะใส่ไว้บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าอาจเป็นด้านซ้ายหรือขวาแล้วแต่ความ ถนัดของผู้ป่วย (ถนัดซ้าย ฝังขวา ถนัดขวา ฝังซ้าย) แพทย์จะวางตำแหน่งปลายสายไว้ในห้องหัวใจด้านขวาบน ห้องขวาล่างหรือทั้ง 2 ห้อง แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ป่วย จากนั้นจะต่อปลายสายอีกด้านเข้ากับ PCP ซึ่งจะถูกฝั่งไว้ใต้ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า PCP จะรับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสายตลอดเวลา เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยช้าลงกว่าที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะส่งพลังงานไฟฟ้าปริมาณน้อยๆ (แต่เพียงพอ) เพื่อกระตุ้นให้จังหวะหัวใจตามอัตราที่ตั้งไว้

 

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

1.งดสูบบุหรี่ทั้งตนเองและคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันกรณีที่เลิกบุหรี่ไม่ได้ด้วยตนเองอาจต้องปรึกษาแพทย์โรคปอดเข้าคลินิกงดบุหรี่
2.กรณีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยจำกัดอาหารเค็ม และอาจต้องยาร่วมด้วยถ้าคุมความดันโลหิตไม่ได้
3.ควบคุมให้ได้ระดับไขมันในเลือดชนิด LDL น้อยกว่า 100 mg/dL ระดับไขมันในเลือดชนิด HDL >35 mg/dL ระดับไขมันในเลือดชนิด triglyceride < 200 mg/dL โดยควบคุมอาหารจำกัดอาหารที่มีไขมันสูงทุกชนิด ร่วมกับการออกกำลังกาย และอาจต้องยาลดไขมันร่วมด้วยกรณีควบคุมไม่ได้
4.ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ30-60นาทีสัปดาห์ละ3-4ครั้ง
5.ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก ให้รอบเอวน้อยกว่า 40 นิ้วในผู้ชาย และน้อยกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง และควรให้ได้ค่าดัชนีมวลสาร(Body mass index,BMI) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ค่า BMI เท่ากับ น้ำหนักหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง)
6. ในรายที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรควบคุมให้ได้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ คือประมาณ 100-110 mg/dL และทำให้ระดับ HbA1c น้อยกว่า 7% (HbA1c เป็นค่าที่แพทย์ใช้ในการประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือน) ซึ่งอาจต้องใช้ทั้งการควบคุมอาหารและการใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย
7.ต้องทาน Aspirin ขนาด 75-325 มิลลิกรัม/วัน ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ในรายที่ใช้Aspirinไม่ได้ เช่น แพ้ยาหรือทานยาแล้วมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้ ยา Clopidogrel หรือ Ticlopidine แทน

 

 


 

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 13674458