กายภาพบำบัดและฟื้นฟูหัวใจ |
![]() |
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 15:40 น. | |||||||||||||||||||||
กายภาพบำบัดหัวใจ เป็นบริการสำหรับผู้ป่วยหัวใจทำกิจกรรมภายใต้การติดตามอาการ สัญญาณชีพที่สำคัญ กราฟหัวใจ และ ระดับร้อยละของออกซิเจนในเลือด โดยมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญ เพื่อช่วยผู้ป่วยให้มีการฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมจากโรคหัวใจประเภคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ภาวะหลังจากการผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทาทในการลดการนอนโรงพยาบาลซ้ำของผู้ป่วย ลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจต่างๆ ชี้ให้ผู้ป่วยทราบและตระหนักถึงปัจจัยเสียงต่อโรคหัวใจ ได้แก่ ความดัน ไขมัน น้ำตาล การลดน้ำหนักที่มากกว่าปกติ การหยุดบุหรี่ และกิจวัตรและกิจกรรมประจำวัน นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ การฟื้นฟูหัวใจ คือกระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหัวใจหรือการผ่าตัดหัวใจ เพื่อลดผลเสียจากการขาดการเคลื่อนไหว และเพิ่มสมรรถภาพการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้มากขึ้นโดยไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว การฟื้นฟูหัวใจแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การฟื้นฟูหัวใจในโรงพยาบาล จุดประสงค์
องค์ประกอบของการฟื้นฟู
ตัวอย่างโปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจในโรงพยาบาล
ระยะที่ 2 การฟื้นฟูหัวใจแบบผู้ป่วยนอก หลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถกลับไปออกกำลังเองที่บ้านได้ โดยมาพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามและปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามนัด ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้มาออกกำลังในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์เป็นระยะเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ โดยอาจมีการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด ระดับความเหนื่อย ระหว่างการออกกำลัง ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ระยะที่ 3 การฟื้นฟูหัวใจต่อเนื่อง หลังจากผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูแล้ว ควรมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงสภาพร่างกายที่ดีต่อไป
คลินิกฟื้นฟูหัวใจ-ปอด ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอด ด้วยการให้โปรแกรมออกกำลังกายภายใต้การดูแลของทีมงานแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด โดยมีการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด ระหว่างการออกกำลัง ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน รายละเอียดเพิ่มเติม http://rehab.md.chula.ac.th/04_Service.html |