การผ่าตัดเส้นเลือดใหญ่ |
![]() |
![]() |
![]() |
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 11:45 น. |
หลอดเลือดแดงใหญ่ ( aorta ) เป็นท่อนำเลือดดี จากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจ ขึ้นไปยังยอดอกแล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านกระบังลมเข้าไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา 2 ข้าง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ความสำคัญของหลอดเลือดแดงใหญ่ คือ เปรียบเสมือนท่อประปาหลัก ที่ให้แขนงหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ, สมอง, ประสาทไขสันหลัง, แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ตับ, ไต, สำไส้ เป็นต้น
การผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด ( stent graft ) ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ เพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง เป็นทางเลือกใหม่ ที่เริ่มใช้ในภายหลัง ซึ่งจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดอัตราการเสี่ยง และการให้เลือด ผลในระยะสั้นและระยะกลางยังมีประสิทธิภาพดี แต่ต้องติดตามผลระยะยาวต่อไป
การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยและพยาธิสภาพของหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงแต่สามารถรักษาได้ การตรวจพบและเฝ้าระวังติดตามการรักษา เป็นสิ่งสำคัญ การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ เพื่อป้องกันการแตกของหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถทำผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ได้ผลดี ท่านสามารถปรึกษาและถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับศัลยแพทย์ของท่านได้ |