Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home Doctors and Staff Members
Patient's Health Information

 

  • ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • การบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดหัวใจ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว

 

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

1. ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ

สาเหตุ

1. ความผิดปกติทางกายวิภาค โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

2. ความผิดปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ

3. ความผิดปกติจากจังหวะการเต้นของหัวใจ

4. สาเหตุอื่น ๆ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำเกิน

อาการและอาการแสดงทั่วไป

เด็กเล็ก : จะเหนื่อยเวลาดูดนม ดูดนมได้ช้า และน้อย

เด็กโต : จะมีเบื่ออาหาร

- มีประวัติป่วยบ่อย มักเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

- ชีพจรเบา เร็ว และหายใจเร็ว

- มือ เท้าเย็น

- เหงื่อออกมาก

- บวมที่ขา มักพบในเด็กโต

- ดูดนมลำบาก

การรักษา

1. การให้การรักษาแบบประคับประคอง

- การดูแลให้ผู้ป่วยพัก นอนในท่าศีรษะสูง

- การให้ออกซิเจน

- การให้สารอาหารอย่างเพียงพอ ควรจำกัดน้ำและเกลือแร่ ในปริมาณที่พอเหมาะ

- การให้นารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาขับปัสสาวะ

-ค้นหาและรักษาสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้โดยการใช้ยาหรือการทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขพยาธิสภาพนั้น

2. ภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

สาเหตุ

1. เหนื่อยง่าย , เบื่ออาหาร , กินได้น้อยและอาเจียน ทั้งจากหัวใจล้มเหลว ,

ภาวะเขียวและผลข้างเคียงของยา

2. การดูดซึมไม่ดี

3. ความต้องการอาหารของร่างกายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเด็กโรคหัวใจ

ที่มีปัญหาภาวะหัวใจวาย หรือภาวะความดันในปอดสูง

การดูแล

1. ให้อาหารที่พลังงานและโปรตีนสูงร่วมกับ

การจำกัดปริมาณน้ำเกลือแร่ เช่น นมสูตรพิเศษ

2. วิธีการให้อาหารในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจทารกให้อาหารครั้งละน้อย ๆ

แต่บ่อยครั้งอาจให้ทุก 2– 3 ชั่วโมง เด็กโต (อายุ มากกว่า 1 ปี)

ให้ห่างขึ้นเป็นทุก 4 ชั่วโมง เว้นกลางคืน

3. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุ

เนื่องจากมีพยาธิสภาพจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคที่พบบ่อยที่สุด

คือ ปอดบวม (Pneumonia)

การดูแล

1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย

4. ดูแลทำความสะอาดปาก และฟันอยู่เสมอเมื่อมีปัญหาฟันผุ ให้ไปพบแพทย์

5. รักษาภาวะติดเชื้อควบคู่กับภาวะหัวใจวายเสมอ

6. การสังเกตอาการที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ คือ การมีไข้ ไอมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย

4. ภาวะเขียวกระทันหัน

เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว โดยที่ผู้ป่วยจะมาการเขียวคล้ำมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการหอบลึก ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการตัวเกร็ง เป็นลมหมดสติได้

สาเหตุ

มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก มีไข้ ร้องนาน ๆ หรืออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก โดยมักจะเกิดในช่วงเช้า

การป้องกัน

1. ระวังอย่าให้เด็กขาดน้ำ

2. ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ไข่ ตับ และผัดใบเขียว เป็นต้น

3. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเสมอ

เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเขียวกระทันหัน ให้จับเด็กนั่งยอง ๆ หรืออุ้มพาดบ่าเอาเข่าชิดหน้าอก ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพาเด็กมาพบแพทย์

การดูแลทั่วไปของเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

1. ด้านโภชนาการ

น้ำนมมารดาเป็นอาหารที่ดีที่สุดในวัยทารก แต่ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ใช้สูตรน้ำนมพิเศษ เพื่อเด็กจะได่รับสานอาหารเพิ่มขึ้น หลักในการให้นมหรือสารอาหารในเด็กเหล่านี้ ควรให้อาหารหรือนมครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้ง ในเด็กที่มีอาการเขียว ควรได้รับวิตามิน และธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น

2. ด้านการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายหรือเล่นเท่าที่เด็กสามารถทำได้ ยกเว้นในบางรายที่ไม่ควรให้ออกกำลังกาย ที่เป็นการแข่งขัน หรือการเล่นที่รุนแรง

3. การดูแลสุขภาพเหงือก และฟัน

การมีสุขภาพของเหงือกและฟันที่ดีมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับเด็กที่มีโรคหัวใจ เนื่องจากโรคของเหงือกและฟันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดการติดเชื้อของลิ้นหัวใจและหลอดเลือด หรือฝีในสมอง ดังนั้นควรงดขนมหวาน หรือน้ำผลไม้ในตอนกลางคืน และไม่ควรคาขวดนมที่เด็กดูดในขณะนอน หมั่นดูแลในเรื่องการแปรงฟันของเด็กโดยผู้ปกครอง ควรเป็นผู้แปรงฟันให้เด็ก จนกระทั่งเด็กอายุ 6-7 ปี

ในกรณีที่มีฟันผุควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ ในการพบกับทันตแพทย์ต้องบอกทุกครั้งว่า เด็กเป็นโรคหัวใจ เพื่อที่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ

4. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ควรได้รับวัคซีนเหมือนเด็กปกติ แต่จะมีการให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มเติมในผู้ป่วยโรคหัวใจบางชนิด เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยาแอสไพริน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวหัดใหญ่ในขณะที่มีการระบาดของโรคนี้ด้วย

5. การป้องกันการเจ็บป่วย

ควรป้องกันโดยไม่นำเด็กเข้าใกล้ผู้ป่วย และไม่นำเด็กเข้าไปในที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ

6. การป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ ซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อแบคทีเรีย เข้าในกระแสเลือด ในระหว่างการทำฟัน หรือการผ่าตัด สามารถลดหรือป้องกันได้โดย การให้เด็กรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน หรือการผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนเด็กโรคหัวใจที่มีอาการเขียวอย่างเดียวควรระวังการขาดน้ำ โดยเฉพาะในเวลามีไข้หรืออาเจียน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเขียวกะทันหัน

5. โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ (IE)

ท่านสามารถเรียนรู้ได้จากวิดีโอการ์ตูนสำหรับเด็ก เรื่อง แอนนี่ผจญภัย ตอนท่องโรค IE

การบรรเทาความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจต้องประสบกับความปวดด้วยกันทุกคน แต่ความปวดนั้นสามารถบรรเทาได้ โดยวิธีการให้ยาระงับปวดซึ่งผู้ป่วยทุกราย จะต้องได้รับภายหลังการผ่าตัด ร่วมกับวิธีการไม่ใช้ยาคู่มือนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อประกอบการให้ข้อมูลกับผู้ป่วยในเรื่องการบรรเทาความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ โดยเนื้อหา ประกอบด้วย สาเหตุ ชนิด ความรุนแรง ลักษณะ ระยะเวลา และตำแหน่ง ของความปวด กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่อาจมีผลต่อความปวด การประเมินความปวด การบรรเทาความปวดด้วยวิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยา รวมทั้ง ประโยชน์ของการบรรเทาความปวดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และ มีกำลังใจในการร่วมมือในการรักษา และจัดการกับความปวดหลังการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบรรเทาความปวดหลังการผ่าตัดหัวใจ มี 2 วิธี คือ โดยวิธีการใช้ยาบรรเทาปวด ซึ่งท่านจะได้รับตามความเหมาะสมทุกคน และวิธีที่ไม่ใช้ยาเป็นวิธีที่ท่านสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามความคุ้นเคยความชอบและความเหมาะสมของแต่ละคน ดังนั้นเมื่อมีการประเมินความปวด สิ่งสำคัญคือ ท่านควรบอกความรู้สึกปวดตามความเป็นจริงและไม่ต้องกลัวหรือเกรงใจที่จะบอกความปวดกับแพทย์และพยาบาล เพื่อที่ท่านจะได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง

เมื่อท่านได้เรียนรู้ เข้าใจและสามารถฝึกปฏิบัติในการบรรเทาความปวดโดยวิธีต่างๆ ได้แล้ว ก็จะช่วยให้ท่านสามารถฟื้นหายได้โดยเร็วและกลับไปดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ความหมาย ความปวดเป็นความรู้สึกที่ไม่สุขสบาย

สาเหตุ เกิดจากแผลและการเจ็บของเนื้อเยี่อขณะผ่าตัด

· ความปวด หลังการผ่าตัดหัวใจ

o การผ่าตัดหัวใจส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าตัดเปิดทรวงอก

o เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นแพทย์จะใส่สายระบายทรวงอกไว้

· ลักษณะของความปวด

ความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่นาน โดยในช่วง หลังการผ่าตัดวันที่ 1-3 ท่านอาจมีความรู้สึกปวดค่อนข้างมาก ซึ่งลักษณะความปวดอาจเป็นความรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดตึงๆ เจ็บจิ๊ดปวดตุ๊บๆ แน่นๆ หรือปวดเมื่อย ปกติความปวดจะค่อยลดลงหลังการผ่าตัดวันที่ 3 โดยค่อยๆ ลดลง เรื่อยๆตามระยะเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ความปวดจะลดลงอย่างมากประมาณ ช่วงหลังผ่าตัดได้ 1-2 สัปดาห์ และความปวดจะหมดไปภายใน 1-2 เดือน หลังการผ่าตัด

· ตำแหน่งของความปวด

 

ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจด้วยวิธีผ่ากลางกระดูกสันอก มักจะรู้สึกปวดหรือไม่สุขสบาย ในบริเวณตำแหน่งที่ 1-5

ส่วน ในรายที่ทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจจะปวดในบริเวณตำแหน่งที่ 6 และ 7 เพิ่มขึ้นได้


· กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่มีผลต่อความปวด

กิจกรรมเพื่อการรักษาพยาบาล มีความจำเป็นที่ต้องกระทำเพื่อความปลอดภัยและส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพของท่าน แต่อย่างไรก็ตามก็อาจจะทำท่านรู้สึกไม่สุขสบาย หรือปวดแผลได้บ้าง

กิจกรรมการรักษาพยาบาลดังกล่าว ได้แก่

 

o การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ

o การถอดท่อระบายทรวงอกออก

o การกระตุ้นให้ไอ

o การบริหารการหายใจ โดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ หรือการใช้อุปกรณ์

o การเริ่มให้เคลื่อนไหว พลิกตัวบนเตียง การบริหารร่างกายบนเตียง

o การให้ลุกลงจากเตียงเพื่อนั่งเก้าอี้

o การให้เริ่มเดิน

เป็นต้น

 

ดังนั้นพยาบาลจะประเมินความปวดก่อนทำกิจกรรม และ จะช่วยบรรเทาความปวดด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้ท่านมีความพร้อมในการเริ่มกิจกรรม และมีความปวดขณะทำกิจกรรมน้อยที่สุด

· การประเมินความปวด

เพื่อการสื่อสารที่ตรงกันถึงระดับความปวด จึงมีการประเมินความปวดเป็นคะแนน โดยท่านจะเป็นผู้เลือกระดับคะแนนความรุนแรง ของความปวดตามความรู้สึกของตนเอง

ระดับความปวดที่ประเมินแบ่งเป็น 3 ระดับคือ

คะแนน 1 -3 หมายถึง ปวดเล็กน้อย

คะแนน 4-6 หมายถึง ปวดปานกลาง

คะแนน 7-10 หมายถึง ปวดรุนแรงมาก

© ในระยะ 24- 48 ชั่วโมงแรก หลังการผ่าตัด ท่านจะได้รับการประเมินความปวด อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น ถ้าความปวดของท่านอยู่ในระดับ เล็กน้อยหรือ สามารถควบคุมความปวดได้ ท่านจะได้รับการประเมินความปวดทุก 4 ชั่วโมง พร้อมสัญญาณชีพ หรือก่อนเริ่มกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่มีผลต่อความปวด

© การประเมินความปวด จะทำให้แนวทางการรักษาพยาบาล เพื่อบรรเทา

ความปวดมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

· การบรรเทาความปวดโดยวิธีการใช้ยา

หลังผ่าตัดท่านจะได้รับยาบรรเทาความปวด ทันที ที่ท่านเริ่มรู้สึกตัว ดังนี้

หลังการผ่าตัดวันแรก

ท่านต้องพักรักษาใน ไอซียู พยาบาลจะประเมินความปวดของท่านทันทีที่ท่านเริ่มรู้สึกตัว และท่านจะได้รับยาบรรเทาความปวด โดยการหยดเข้าทางหลอดดำอย่างต่อเนื่อง

หลังการผ่าตัดวันที่หนึ่งเป็นต้นไป

เมื่อท่านสามารถรับประทานได้แล้ว จะเปลี่ยนเป็นยาบรรเทาความปวดชนิดรับประทาน เช่น พาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง อาจร่วมกับการรับประทานยาบรรเทาความปวดชนิดอื่น และหากไม่สามารถบรรเทาความปวดด้วยยาชนิดรับประทานได้ จะพิจารณาให้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำได้เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม

ดังนั้นการรับประทานยาบรรเทาความปวดอย่างสม่ำเสมอตามเวลา จะช่วยให้ท่านควบคุมความปวดได้ดีกว่าการรอให้มีความปวดมากแล้วจึงค่อยรับประทานยา และถ้าหากรับประทานยาตามเวลาแล้วยังรู้สึกปวดมาก ให้แจ้งพยาบาลทราบ

· การบรรเทาความปวดโดยวิธีที่ไม่ใช้ยา

เป็นวิธีการพยาบาลที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบรรเทาความปวด

ด้วยยา เช่น

1. การนวดคลึงเบาๆ บริเวณที่ไม่มีแผลหรือสายน้ำเกลือ เช่น มือ, เท้า,

หลัง หรือสะโพก เป็นต้น จะช่วยยับยั้งการส่งกระแสประสาทขอ

ความปวด ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ

คลายความเครียด ลดความกังวล ผู้ป่วยจึงรู้สึกผ่อนคลาย

และช่วยให้หลับสบาย

2. การผ่อนคลายโดยใช้การฝึกการหายใจลึกๆ ยาวๆ หรือทำสมาธิ

ช่วยให้จิตใจสงบ ไม่เครียดหรือกังวลมากเกินไป ทำให้จิตใจและ

อารมณ์สงบกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้ลดความปวดได้

3. การเบี่ยงเบนความสนใจจากความปวด เช่น การฟังดนตรี ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เป็นต้น

4. การใช้หมอนประคองบริเวณแผลผ่าตัดทรวงอก ระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ การบริหารการหายใจเช่น การหายใจลึกๆ การไอหรือดูดเสมหะจะช่วยบรรเทาความปวดแผลได้

5. การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้อง เช่นใช้วิธีการตะแคงตัว

ในการเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่ง หรือจากนั่งเป็นนอน

จะช่วยลดการเกร็งกล้ามเนื้อ และการตึงของแผลผ่าตัด

จากการเปลี่ยนท่านั่งหรือนอนได้ เป็นต้น

· ประโยชน์ของการบรรเทาปวดที่มีประสิทธิภาพ

การบรรเทาความปวดที่มีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งช่วยให้ท่านฟื้นหายเร็วขึ้นได้ ดังนี้

1. ช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจทำงานหนัก จากการตอบสนองต่อความปวด

2. ช่วยให้ท่านไอได้มีประสิทธิภาพ จึงไม่มีเสมหะคั่งค้างในปอดสามารถบริหารการหายใจ โดยหายใจโดยหายใจเข้า-ออกลึกๆหรือใช้อุปกรณ์ได้ดีทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ จึงไม่เกิดภาวะปอดแฟบหรือ ปอดอักเสบ

3. ทำให้ท่านสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น

4. ทำให้ท่านสามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสม และออกจากเตียง เพื่อนั่งข้างเตียง ยืนเดินรวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วขึ้น

5. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากความปวด

6. ลดการเกิดผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ลดความกลัว ความวิตกกังวล เครียด หงุดหงิด กระวนกระวาย เป็นต้น

โรคหัวใจล้มเหลว

คืออะไร

ภาวะหัวใจล้มเหลว (หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ฮาร์ท-เฟล-เลีย, Heart failure) นั้นเป็นภาวะที่หัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามที่ต้องการ

ทำไมหัวใจจึงทำงานได้ล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดได้จากสภาวะทางโรคหัวใจหลายชนิด ซึ่งได้แก่

· โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือขาดเลือด

· โรคความดันโลหิตสูง

· โรคลิ้นหัวใจ

· โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเองซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า คาร์-ดิ-โอ-ไม-ออป-พาตี้ (cardiomyopathy)

· โรคการอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจหรือของลิ้นหัวใจ

· โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

· หัวใจเต้นผิดจังหวะ

· การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุราและแอลกอฮอล์

จะมีอาการอย่างไร

· เหนื่อยง่ายหรือไอเมื่ออกแรงหรือออกกำลังหรือขณะพัก

· หายใจลำบาก แน่น หรือหายใจเหนื่อยหอบเมื่อนอนราบ และอาการอาจดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นนั่ง

· ตื่นขึ้นมาเมื่อนอนหลับไปแล้วเพราะเหนื่อย

· เพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย

· หน้าแข้งหรือข้อเท้าบวม

· แน่นในท้องเหมือนมีน้ำในท้อง

· น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่งของน้ำ (ไม่ได้รับประทานอาหารมากขึ้น)

การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์และพยาบาลกับผู้ป่วย

ปัจจุบันมีการรักษามากมายขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละรายไป การรักษาดังกล่าวได้แก่ การรักษาด้วยยา การใส่เครื่องกระตุ้น CRT การใส่เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น

ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้อย่างไร

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน และ รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลสั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าวจะส่งผลคุณจะรู้สึกมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

2. คุณจะต้องสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดว่าคุณมีอาการผิดปกติซึ่งต้องรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบหรือไม่

3. คุณจะต้องมาติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน ปรับเปลี่ยนยา และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ปรับตัวอย่างไรเพื่อให้รู้สึกสบายและอยู่กับโรคหัวใจล้มเหลวนี้ได้

คุณจะต้อง

· ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ! คุณต้องชั่งน้ำหนักตัวเองกับเครื่องชั่งเครื่องเดียวกันเป็นประจำทุกเช้าหลังจากคุณถ่ายปัสสาวะในยามเช้า

(แต่ควรชั่งน้ำหนักก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในยามเช้า)

จดบันทึกน้ำหนักตัวคุณในสมุดบันทึกน้ำหนักตัวซึ่งทาง

heart failure clinic ได้จัดให้ หากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 กิโลกรัมภายในเวลา 2 วัน

จะหมายความว่าคุณมีสารน้ำคั่งอยู่ในร่างกายมากกว่า

ปกติ ซึ่งหากคุณมีน้ำหนักเกินกำหนดดังกล่าวคุณควรโทรหาพยาบาล

ประจำคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลวหรือปรึกษาแพทย์

· ตัดใจจากความเค็ม ! การกินเค็มหรือเกลือ (หรือที่เรียกว่าโซเดียม) จะทำให้ร่างกายมีภาวะคั่งของสารน้ำ เนื่องจากสัดส่วนน้ำจะแปลผันตรงกับสัดส่วนเกลือ การคั่งของน้ำและเกลือจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักขึ้นและหนักเกินไป ยังส่งผลให้หัวใจอ่อนแอลง ให้ทำตามคำแนะนำเรื่องเกลือและความเค็มของอาหารตามเอกสารให้ความรู้และการแนะนำจากพยาบาลคลินิกหัวใจล้มเหลว โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะอนุญาตให้รับประทานเกลือได้ไม่เกิน 1.5 ถึง 2 กรัม (หรือ 1500-2000 มิลลิกรัม) แนะนำให้คุณอ่านฉลาก ข้างผลิตภัณฑ์อาหาร และมองหาปริมาณ โซเดียม

· คุณต้องออกกำลังกายบ้าง (โดยไม่หักโหม) และ ไม่กิน-นั่ง-นอนกับเตียง! หัวใจของคุณจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยาบาลและแพทย์ประจำคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถให้คำแนะนำหรือส่งคุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลัง (Cardiac rehab) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น

· ยา ! ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยยา และมีผู้ป่วยจำนวนมากซึ่งต้องรับประทานยาหลายชนิด คุณจะต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ให้นำชื่อยาเป็นภาษาอังกฤษและขนาดของยาดังกล่าวที่รับประทานมาพบแพทย์หรือพยาบาลประจำคลินิกหัวใจล้มเหลวทุกครั้ง คุณควรทำความเข้าใจยาแต่ละชนิดว่าจำเป็นต่อคุณอย่างไร หากคุณมีอาการซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาควรรายงานอาการดังกล่าวให้แพทย์ทราบทันที ห้ามลืมรับประทานยาหรือจัดสรรยายามที่คุณต้องเดินทางไกลหรือท่องเที่ยว ห้ามนำยาดังกล่าวใส่ในประเป๋าเพื่อ load ไปกับสายการบิน ให้พกติดตัวตลอดเวลา

· ห้ามดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้การบีบตัวของหัวใจจองคุณลดประสิทธิภาพ

· ห้ามสูบบุหรี่ หากคุณยังตัดใจจากบุหรี่ไม่ได้ กรุณาติดต่อแพทย์และพยาบาลคลินิกหัวใจล้มเหลวเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลิกบุหรี่ บุหรี่จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ

เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตัวเองถึงแม้จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว

· พักผ่อน หาเวลาผ่อนคลาย หางานอดิเรกซึ่งคุณมีความสุข การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เย็บปักถักร้อย หรือการเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมซึ่งสามารถทำให้คุณมีความสุขเล็กๆน้อยๆได้

· อนุญาตให้ลูกหลาน คนในครอบครัว หรือ เพื่อนช่วยคุณทำงานซึ่งต้องใช้กำลังมาก เช่น การทำสวน ซักผ้า ทำกับข้าวหรือทำงานบ้าน

· คุณจะต้องไม่ทำตนเองให้ตกอยู่ในความเครียด กังวล พยายามพักผ่อนและผ่อนคลาย

 

สัญญาณเตือน นอนโรงพยาบาลเพราะน้ำท่วมปอด

หากมีอาการต่อไปนี้ให้โทรศัพท์ถึงพยาบาลประจำคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หรือมาพบแพทย์

· น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า1.5 กิโลกรัมภายในเวลา 2 วัน

·

 

ข้อเท้าหน้าแข้ง บวมมากขึ้น

· เหนื่อยหอบเวลานอนราบ

·

 

เหนื่อยหอบผิดปกติ

· เพลียมากผิดปกติ

· ปวดศีรษะ วิงเวียนจะเป็นลม

· รู้สึกกระสับกระส่ายไม่สบายตน

· คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

· มีอาการผลข้างเคียงจากยาที่รับประทาน

· เจ็บ หรือ แน่นปบริเวณหน้าอก เมื่อออกแรง และอาการดีขึ้นเมื่อนั่งพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น

อาการที่ควรไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโดยทันที

· แน่นหน้าอกเป็นอย่างมาก หายใจไม่ออก

· หอบเหนื่อยมาก

· เหงื่อออกมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

· พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว

· เป็นลมหมดสติ

 

 

Heart Failure and Transplant Card Staff Login

Statistics

Content View Hits : 13674500